วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

ภาษาและศาสนา


ภาษาและศาสนา





      ภาษา

เดิมพื้นที่อำเภอเบตงเป็นส่วนหนึ่งของรัฐปัตตานี จึงทำให้ประชาชนดั้งเดิมของอำเภอเบตงนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมุสลิมเชื้อสายมลายามาก่อน ต่อมาในปีพุทธศักราช 2343 ได้มีชาวจีนกลุ่มแรกที่เดินทางจากประเทศจีนโดยนำเรือมาขึ้นฝั่งประเทศมาเลเซียแล้วเดินทางเท้า หรือนั่งเกวียนเข้ามายังพื้นที่อำเภอเบตง ชาวจีนส่วนใหญ่เมื่อเข้ามาในอำเภอเบตงก็ได้รับจ้างถางป่าหักร้างถางพงผืนป่า หลังจากนั้นก็มีชาวจีนอพยพเข้ามาเรื่อย ๆ อาจกล่าวได้ว่าชาวจีนที่อพยพมาจากมณฑลกวางสี ซึ่งเป็นมณฑลหนึ่งของจีนที่ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศจีนซึ่งมีดินแดนบางส่วนติดกับประเทศเวียดนามเป็นกลุ่มชาวจีนกลุ่มใหญ่ที่สุดในอำเภอเบตงที่มีส่วนบุกเบิกอำเภอเบตงมากที่สุด ซึ่งในปัจจุบันชาวจีนในอำเภอเบตงมีหลากหลายกลุ่ม เช่น กวางตุ้ง กวางไส ฮกเกี้ยน ฮากกา และแต้จิ๋ว
จึงส่งผลให้ภาษาพื้นฐานในอำเภอเบตงมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับแวดวงทางสังคม เชื้อชาติ และศาสนา เช่น ภาษาไทย ภาษามลายูปัตตานี ภาษาจีนกวางตุ้ง ภาษาจีนกวางไสภาษาจีนแคะ ภาษาจีนฮกเกี้ยน และภาษาจีนแต้จิ๋ว
ศาสนา
จำนวนศาสนิกชนในอำเภอเบตง พ.ศ. 2550
ศาสนา
เปอร์เซ็นต์

52.9%

46.4%

0.7%
ในปีพุทธศักราช 2550 อำเภอเบตงประกอบไปด้วยประชาชนนับถือศาสนาต่าง ๆ ดังนี้ [7]
·         52.9% ศาสนาอิสลาม 29,681 คน,
·         46.4% ศาสนาพุทธ 26,114 คน (รวมไปถึงนิกายเถรวาท และนิกายมหายาน),
·         0.7% ศาสนาคริสต์ 252 คน
มีจำนวนศาสนสถาน ดังนี้ มัสยิดทั้งหมด 25 แห่งวัดในพุทธศาสนา 4 วัด และโบสถ์คริสต์อีก 1 แห่ง
         ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าประชากรในอำเภอเบตงเป็นประชากรที่ความผสมผสานด้วยคนไทยหลากหลายเชื้อชาติ และศาสนา ทั้งคนไทยมุสลิม คนไทยพุทธ คนไทยเชื้อสายจีน และอื่น ๆ จึงทำให้มีความหลากหลายทางประเพณี และวัฒนธรรม วิถีชีวิต อาหารการกิน บรรยากาศของเมือง และประวัติศาสตร์ เมื่อรวมสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เข้าด้วยกันจึงเป็นเอกลักษณ์ของอำเภอเบตงซึ่งแตกต่างจากพื้นที่อื่น ๆ

ที่มา https://sites.google.com

วัฒนธรรมชาวเบตง

"ประเพณี และ วัฒนธรรมเมืองเบตง"

ซือดะบาเยาะ "ข้าวหลามเบตง" หนึ่งในอัตลักษณ์ที่สำคัญของ "มุสลิมเบตง"

 เพื่อให้สอดคล้องกับช่วงเทศกาลฮารีรายอ อีดิ้ลฟิตริ การนำเสนอเรื่อง "ปูโล๊ะลือแมเบตง"  จึงเป็นเรื่องที่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง เพราะ เป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ที่สำคัญของ "มุสลิมเบตง" แต่สำหรับชาวอำเภอเบตง จังหวัดยะลานั้น แตกต่างจากที่อื่นๆ อาจเพราะภูมิประเทศ ทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ รวมไปถึงความห่างไกลจากพื้นที่อื่นๆ คนมุสลิมที่นี่ จึงมีเมนูที่เป็นแบบฉบับเฉพาะของตนเอง  คือ "ปูโล๊ะลือแม" ตามภาษาถิ่น หรือ "ข้าวหลามไผ่ตง" "ข้าวหลาม"บาซูก้า" ที่วัยรุ่นเขาเรียกกัน การจะหุง หรือ ย่างข้าวเหนียวในกระบอกไผ่ตง ที่ยาวกว่า 70 - 80 เซ็นติเมตร ภายในกระบอกเดียว ทานได้ทั้งครอบครัว จึงไม่ใช่เรื่องปกติหากไม่ใช่ คนเบตง 


ประเพณีแห่ผ้าขึ้นห่มพระมหาธาตุเจดีย์ถวายเป็นพระราชกุศล

การแห่ผ้าขึ้นพระธาตุห่มพระมหาเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ เทศบาลเมืองเบตงได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเป็นการสืบสานประเพณีและถวาย เป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระน
างเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ของทุกปี โดยพระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ เป็นเจดีย์ศิลปะศรีวิชัยประยุกต์ที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ มีขนาดความกว้าง 39 เมตร สูง 39.9 เมตร จัดสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2555 โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเจิมพระบรมสารีริกธาตุ และบรรจุในเจดีย์ รวมทั้งทรงทำพิธียกยอดฉัตรทองคำขึ้นประดิษฐานบนยอดองค์พระมหาธาตุด้วยประเพณีถศีลกินเจ ไทย-มาเลเซีย

ในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ เป็นวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามปฏิบัติสืบเนื่องกันมายาวนาน โดยเน้นการอนุรักษ์ความเป็นวิถีชีวิตและวัฒนธรรมดั้งเดิม ในเรื่องของอา
หาร และการแต่งกาย
ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวจากประเทศ มาเลเซีย และสิงค์โปร์ เดินทางเข้ามาในอำเภอเบตงเป็นจำนวนมาก


ประเพณีชักพระเป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวใต้ ซึ่งเป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับ วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ซึ่งเชื่อกันว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จมายังโลกมนุษย์  พุทธศาสนิกชนจึงมารอรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธ เจ้าขึ้นประทับบน บุษบกแล้วแห่ไปรอบเมือง
เรือพระ    คือ รถหรือล้อเลื่อนที่ประดับตกแต่งให้เป็นรูปเรือแล้ววางบุษบก ซึ่งภาษาพื้นเมืองของภาคใต้เรียกว่า "นม" หรือ "นมพระ" ยอดบุษบก เรียกว่า "ยอดนม" ใช้สำหรับอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานแล้วลากในวันออกพรรษา  ลากพระทางน้ำ เรียกว่า "เรือพระน้ำ" ส่วนลากพระทางบก เรียกว่า "เรือพระบก" สมัยก่อนจะทำเป็นรูปเรือ ให้คล้ายเรือจริง ๆ และต้องทำให้มีน้ำหนักน้อยที่สุด จึงใช้ไม้ไผ่สานมาตกแต่งส่วนที่เป็นแคมเรือและหัวท้ายเรือคงทำให้แน่นหนา

ทางด้านหัวและท้ายทำงอนคล้ายหัวและท้ายเรือ   แล้วตกแต่งเป็นรูปพญานาค ใช้กระดาษสีเงินสีทองทำเป็นเกล็ดนาค กลางลำตัวพญานาคทำเป็นร้านสูงราว 1.50 เมตร เรียกว่า "ร้านม้า"  ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ บุษบก ซึ่งแต่ละที่จะมีเทคนิคการออกแบบบุษบก  มีการประดิษประดอยอย่างมาก หลังคาบุษบกนิยมทำเป็นรูปจตุรมุข  ตกแต่งด้วยหางหงส์ ช่อฟ้า ใบระกา และทุกครอบครัวต้องเตรียม "แทงต้ม" เตรียมหาในกระพ้อ และข้าวสารข้าวเหนียวเพื่อนำไปทำขนมต้ม "แขวนเรือพระ"



ที่มา https://sites.google.com

สถานที่ท่องเที่ยวเมืองเบตง

สถานที่ท่องเที่ยวเมืองเบตง

เมืองเบตงเบตง

เมืองเบตง เป็นอำเภอชายแดนใต้สุดของประเทศไทย อยู่ห่างจากยะลา 115 กม.เป็นเมืองใหญ่ มีความเจริญ ทัดเทียมกับจังหวัดยะลาเลยทีเดียว มีถนนเชื่อมสู่เขตสหพันธรัฐ มาเลเซียตรงด่านเบตงซึ่งอยู่ใต้สุดของเขตแดนไทย ตัวเมืองตั้งอยู่ในเขตที่โอบล้อมด้วยทิวเขาสูงอากาศเย็นสบาย สามารถปลูกดอกไม้ได้ทั้งปี "จนได้ชื่อว่าเมืองในหมอก ดอกไม้งาม" มีนกนางแอ่นเป็นสัญลักษณ์ของเมือง ช่วงเดือนกันยายน-มีนาคม จะมีนกนางแอ่นมาพักอาศัยในเมืองนี้นับหมื่นตัว 

วัดพุทธาธิวาสวัดพุทธาธิวาส

วัดพุทธาธิวาส สถาปัตยกรรมที่งดงาม จัดสร้างอย่างมีชั้นเชิง ลดหลั่นตามสภาพความลาดเอียงของภูมิประเทศ ก่อเกิดเป็นศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้ที่มานมัสการมิเคยขาด 



อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์

อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์ การใช้วิศกรรมชั้นสูง ในการก่อสร้างเป็นจุดเด่นแห่งอุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์ อุโมงค์รถยนต์ลอดที่ได้ชื่อว่าใหญ่ที่สุด สวยที่สุด และเป็นหนึ่งในประเทศไทย ที่ตระหง่านอยู่กลางความภาคภูมิใจของชาวเบตง และชาวไทยทุกคน


ตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในประเทศตู้ไปรษณีย์

ตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในประเทศ ตู้ไปรษณีย์ อาจเป็นสิ่งที่คุ้นตา กับชาวไทยเรา แล้วตู้ไปรษณีย์ที่มีขนาดความสูงกว่า 3 เมตร และมีเส้นรอบวงเกือบครึ่งเมตร

ตู้ไปรษณีย์แห่งนี้ ตั้งอยู่ ณ มุมถนนสุขยางค์ บริเวณสี่แยกหอนาฬิกาตั้งแต่ปี 2467 เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กมีเส้นรอบวงของตัวตู้ประมาณ 140 ซม. ตู้มีความสูงถึง 290 ซม. นับจากฐานขึ้นไป รวมความสูงทั้งหมดประมาณ 320 ซม. อายุร่วม 80 ปี ในอดีตการเดินทางและการติดต่อสื่อสารระหว่างอำเภอเบตงกับอำเภออื่น ๆ เป็นไปด้วยความยากลำบาก การติดต่อสื่อสารด้วยจดหมาย จึงสะดวกที่สุด โดยนายสงวน จิระจินดา นายกเทศมนตรีอำเภอเบตงในขณะนั้นเคยเป็นนายไปรษณีย์มาก่อน จึงได้จัดสร้างตู้ไปรษณีย์นี้ไว้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์การติดต่อสื่อสารของอำเภอเบตง และยังได้ติดตั้งวิทยุกระจายเสียงไว้ในส่วนบนของตู้ เพื่อให้ประชาชนได้รับฟังข่าวสารจากทางราชการด้วยและปัจจุบันตู้ไปรษณีย์ใบนี้ ก็ยังใช้งานอยู่พร้อมบริการรับจดหมายเหมือนตู้ไปรษณีย์ทั่ว ๆ ไป และเพื่อความเป็นที่หนึ่งเพื่อสื่อถึงสัญลักษณ์แห่งการสื่อสารของอำเภอเบตง เทศบาลเมืองเบตงจึงได้จำลองตู้ไปรษณีย์ขนาดใหญ่กว่าเดิมถึง 3.5 เท่า ตั้งอยู่ในบริเวณสวนมหาดไทย ศาลาประชาคม

หอนาฬิกา

หอนาฬิกาหอนาฬิกาเมืองเบตง คงไม่มีใครปฏิเสธ ประติมากรรมรูปสัตว์ในเทพนิยายไทย ที่สลักด้วยหินอ่อนอันงดงาม เคียงตระหง่านคู่หอนาฬิกาเมืองเบตง ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างสำคัญที่ผ่านการสร้างบ้านแปลงเมือง จากอดีตจนถึงปัจจุบัน




มัสยิดกลาง

มัสยิดกลางมัสยิดกลางเบตง อารยธรรมอันงดงามของศาสนาอิสลาม คือ จารีตประเพณีสำคัญ ที่สั่งสมมายังลูกหลาน ก่อเกิดเป็นการกระทำที่หนักแน่น แต่แฝงด้วยข้อคิดที่จรรโลงไว้ซึ่งหลักธรรมคำสอน และแนวทางการปฏิบัติอันเป็นเอกภาพ จุดกำเนิดของมัสยิดนี้ไม่ชัดเจนนัก แต่มีผู้รู้บอกว่าเริ่มแรกนั้นมีเพียงเสาไม้ตั้งอยู่ 6 ต้น ใบจากอีก 6 ตับ โดยมีโต๊ะอิหม่ามคนแรกชื่อ ปือดีกา การีม หลักจากท่านถึงแก่กรรม ได้ย้ายมัสยิดไปยังหมู่บ้านกำปงปือตอ กำปงตือเม๊าะ และกำปงยูรอตามลำดับ กระทั่งเมื่อประมาณเกือบ 100 ปี ที่แล้ว จึงได้ย้ายมัสยิดมาอยู่ ณ ที่ปัจจุบัน

บ่อน้ำพุร้อน

บ่อน้ำพุร้อน บ่อน้ำพุร้อน เชื่อกันว่า กรดกำมะถันนั้น มีสรรพคุณมากมายในการช่วยลดไขมัน บรรเทาอาการของโรคผิวหนังบางชนิด แก้โรคเหน็บชา และช่วยกระตุ้นจุดต่าง ๆ ของร่างกายให้ผ่อนคลาย บรรยากาศบริเวณรอบ ๆ น้ำพุร้อนเหมาะกับการพักผ่อนเพื่อสุขภาพ อีกทั้งยั้งมีบ่อพักน้ำที่สามารถลงไปแช่น้ำแร่ได้ และบ่อสำหรับต้มไข่ให้นักท่องเที่ยวได้ต้มแล้วปอกรับประทานได้อย่างเพลิดเพลิน ซึ่งความร้อนของบ่อจะทำให้ไข่สุกภายใน 7 นาที นอกจากนี้ยังมีบริการห้องอาบน้ำแร่ไว้บริการแก่ผู้สนใจด้วย


สวนไม้ดอกเมืองหนาว

สวนไม้ดอกเมืองหนาวสวนไม้ดอกเมืองหนาว ตั้งอยู่ ณ หมู่บ้านปิยะมิตร 2 ซึ่งเดิมเคยเป็นหมู่บ้านของผู้ที่เข้าร่วมพัฒนาชาติไทยเมื่อครั้งอดีต ปัจจุบันหมู่บ้านปิยะมิตรยังอยู่เป็นอนุสรณ์แห่งความทรงจำให้กับบรรพชนรุ่นหลังที่อาศัยอยู่ ณ ที่นี้ อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของชาวหมู่บ้านปิยะมิตร และโครงการปลูกดอกไม้เมืองหนาว ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นโครงการส่งเสริมรายได้ให้กับชาวหมู่บ้านปิยะมิตรอีกทางหนึ่ง ความงดงามของไม้ดอกนานาพันธุ์ที่ถูกบรรจงปลูกเป็นทิวแถว บานสะพรั่งอยู่ทั่วเนินเขาที่ห้อมล้อมด้วยหุบเขาสูงในสภาพภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นที่อื่นของภาคใต้

อุโมงค์ปิยะมิตร

อุโมงค์ปิยะมิตรอุโมงค์ปิยะมิตร เป็นฝีมือของกลุ่มขบวนการโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา เมื่อปี พ.ศ.2519 มีวัตถุประสงค์ในการก่อสร้าง เพื่อใช้เป็นฐานปฏิบัติการเพื่อหลบภัยทางอากาศ และสะสมเสบียง ตั้งอยู่บนเนินเขาที่ล้อมรอบด้วยป่าทึบ ภายในอุโมงค์มีความกว้างพอคนเดินได้มีความยาวของอุโมงค์ ประมาณ 1 กิโลเมตร ในอดีตมีทางเข้า-ออก 9 ทาง แต่ปัจจุบันเหลือ 6 ทาง โดยปัจจุบันยังคง มีกลิ่นอาย และร่องรอยของการดำรงชีวิตที่หลงเหลืออยู่


ป่าบาลา-ฮาลา

ป่าบาลา-ฮาลาป่าบาลา-ฮาลา เป็นผืนป่าดงดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ และหลากหลายในเชิงนิเวศน์ นอกจากนี้ป่าบาลา-ฮาลา มีความสำคัญในฐานะเป็นแหล่งรวมพันธุกรรมอันยิ่งใหญ่ของโลก ทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดแม่น้ำสายสำคัญ 3 สาย คือแม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำโก-ลก หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน







ที่มา http://www.manager.co.th

อาหารพื้นเมืองเบตง

ไก่สับเบตงไก่เบตง

ไก่สับเบตง เป็นอาหารที่เลิศรสและขึ้นชื่อของเบตง เป็นเมนูเด็ดที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดและนอกจากไก่สับแล้ว ไก่เบตงยังสามารถปรุงเป็นอาหารรสเลิศได้อีกหลายชนิด เช่น ไก่ตุ๋นเครื่องยาจีน ไก่ตุ๋นมะนาวดอง ต้มยำไก่ ไก่ต้มซีอิ๊ว โดยไก่เบตงเป็นไก่ที่เลี้ยงเฉพาะท้องถิ่นเบตง เนื้อจะหวานนุ่ม ไม่เปื่อยยุ่ยเหมือนไก่ทั่วไป เดิมเป็นไก่พันธุ์เลี้ยงชาน ที่ชาวจีนอพยพซึ่งมาตั้งรกรากในเบตงได้นำมาเลี้ยง และผสมพันธุ์กับไก่พื้นเมือง จนแพร่หลายถึงทุกวันนี้

เคาหยกเคาหยก

เป็นอาหารที่มีชื่อเสียงของเบตง ทำจากเนื้อหมูกับเผือก มีวิธีการปรุงที่พิถีพิถันสลับซับซ้อน โดยจะเริ่มจากการนำเนื้อหมู 3 ชั้นมาต้มให้สุก จากนั้นจึงนำขึ้นมาสะเด็ดน้ำในรังนึ่ง และใช้ช้อนส้อมจิ้มที่หนังหมูเพื่อให้น้ำมันไหลออกมา ทิ้งไว้สักพัก แล้วนำเกลือมาคลุกให้ทั่ว หลังจากนั้นนำไปทอดในน้ำมันที่เดือดปานกลาง จนสังเกตว่าหนังหมูเริ่มพอง แล้วจึงนำขึ้นมาสะเด็ดน้ำมัน และต่อด้วยการต้มอีกครั้ง เมื่อนำขึ้นจากหม้อต้มให้นำมาผ่านความเย็นทันที เพื่อเพิ่มความกรอบ จากนั้นนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ หมักกับเครื่องยาจีน เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารให้ร่างกาย แล้วนำมาจัดวางสลับกับเผือกทอด แต่ก่อนที่จะรับประทานต้องนำไปนึ่งอีกครั้ง แล้วจึงโรยหน้าด้วยผักชี เพื่อดับกลิ่นคาว 

ปลาจีนนึ่งบ๊วยปลาจีน

ในอำเภอเบตง ปลาจีนเป็นชื่อที่ใช้เรียกปลา 3 ชนิด คือชนิดแรก ปลาเฉาฮื้อ หรือปลากินหญ้า (Grass Carp) หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ctenopharyngodon idellus ชนิดที่สอง ปลาลิ่น หรือปลาลิ่นฮื้อ หรือปลาเกล็ดเงิน (Silver carp) หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Hypophthalmichtys Molitrix ชนิดที่สาม ปลาซ่งฮื้อ หรือ ปลาหัวโต (Bighead Carp) ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Aristichthys hobilis ปลาจีนมีลักษณะคล้ายปลากระบอกแต่มีขนาดโตกว่า เหตุที่เรีกว่าปลาจีนเพราะเป็นปลามาจากประเทศจีน

ผัดผักน้ำผักน้ำ

ผัดผักน้ำ มีลักษณะคล้ายผักชีล้อม มีการเจริญเติบโตคล้ายผักบุ้ง ใบเล็ก ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ ชอบขึ้นในที่ที่มีอากาศเย็น มีการเจริญเติบโตได้ดีในหน้าฝน และหน้าหนาว หรือที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส มีน้ำไหลผ่านตลอดเวลา และต้องเป็นน้ำที่ไหลมาจากภูเขา โดยเฉพาะน้ำที่ไหลมาจากซอกหิน ชาวเบตงนิยมนำมาประกอบอาหารหลายอย่าง เช่น ผัดผักน้ำ ทำแกงจืด ต้มจิ้มกับน้ำพริก ต้มกับกระดูกหมู เป็นต้น นอกจากรสชาติที่อร่อยแล้ว ยังมีสรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนในอีกด้วย

กบภูเขาเบตง

กบภูเขากบภูเขาเบตง เป็นกบที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ในป่าเบญจพรรณที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงมีขนาดใหญ่กว่ากบทั่วไป ขนาดของน้ำหนักอยู่ที่ 0.5 – 1.0 กิโลกรัมต่อตัว ชาวเบตงนิยมนำกบเบตงมาผัด หรือทอดกระเทียมพริกไทย หรืออาจจะใช้เนื้อกบแทนเนื้อหมูใส่ในโจ๊ก หรือที่เรียกว่าโจ๊กกบ ส่วนรสชาตินั้น บอกได้คำเดียวว่า ถ้าท่านได้ลิ้มลองจะต้องติดใจ



หมี่เบตง

หมี่เบตงหมี่เบตง เป็นอาหารขึ้นชื่อของเบตง มีคุณสมบัติพิเศษ คือเส้นเหนียวนุ่ม เมื่อนำไปผัดเส้นจะไม่ขาด ทำให้ผู้ที่ได้รับประทานติดใจในความเหนียวนุ่มของเส้นหมี่ หมี่เบตงมี 2 ชนิด คือหมี่สีเหลืองเหมือนหมี่ทั่วไป ที่จะต้องนำไปนึ่งให้สุกแล้วนำมาจับเป็นก้อน เอาไปผึ่งแดดแล้วบรรจุลงถุง ส่วนหมี่ซั่วนั้นมีเส้นสีขาว ซึ่งต่างกันที่หมี่ซั่วนั้น ไม่ต้องนึ่ง แต่นำไปตากแดดแทน



เฉาก๊วยโบราณ

เฉาก๊วยเฉาก๊วยโบราณ เฉาก๊วยหรือวุ้นดำของเบตง ขึ้นชื่ออยู่ ณ บ้าน กม.4 เพราะเป็นรสชาติของเฉาก๊วยโบราณแท้ ๆ ที่ได้นำเอาหญ้าวุ้นดำจากประเทศจีนมาเป็นส่วนผสมสำคัญ ทำให้เฉาก๊วยมีสีดำขลับ เหนียวและนุ่ม แถมยังมีสรรพคุณด้านการแก้ร้อนในได้อีกด้วย อีกทั้งยังสามารถเป็นของฝากที่ถูกใจผู้รับอีกต่างหาก



ส้มโชกุน

ส้มโชกุนส้มโชกุน จัดได้ว่าเป็นส้มที่รวบรวมเอาคุณสมบัติเด่นหลากหลายมารวมไว้ด้วยกัน เช่น มีกลิ่นหอม รสหวานอมเปรี้ยว ชานนิ่มและไม่ขม เปลือกบาง ซึ่งหากนำมาคั้นจะให้น้ำมากกว่าส้มทั่วไป มีลักษณะคล้ายส้มเขียวหวาน การเจริญเติบโตก็คล้าย ๆ กับส้มเขียวหวาน เหตุเพราะว่าเป็นส้มที่ผสมผสานพันธุ์โดยธรรมชาติ ระหว่างส้มเขียวหวาน และส้มแมนดารินจากประเทศจีนและกว่าจะมาเป็นผลส้มที่พรั่งพร้อมด้วยคุณลักษณะดังกล่าว ต้องผ่านการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีโดยเฉพาะการหมั่นใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่ง การป้องกันโรค และการป้องกันแมลงต่าง ๆ ด้วย และถึงแม้ขณะนี้ส้มเบตงจะมีการเพาะปลูกในทุกภาคของประเทศไทย แต่หากท่านต้องการลิ้มลองรสชาติแท้แท้ของส้มโชกุนพื้นเมืองล่ะก็ ท่านต้องมายังที่เบตงเพียงแห่งเดียวเท่านั้น

ที่มา http://www.betongimmigration-checkpoint.com/th/food.html

เสน่ห์เมืองเบตง

เสน่ห์เมืองเบตง
“เบตง”...ทรงเสน่ห์ ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามกลางขุนเขา
ตัวเมืองเบตงในอ้อมกอดแห่งขุนเขา
       “โอเค เบตง”
     
       หลังภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายเมื่อหลายปีที่แล้ว คนก็พูดกันติดปากถึงอำเภอเบตง จ.ยะลา ที่อยู่ใต้สุดของเมืองไทยว่า โอเค...เบตง ซึ่งหากใช้กับสภาพการณ์ในตอนนี้ที่สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ยังคงอยู่แต่ว่าลดกีกรีความร้อนแรงลงไปเยอะมาก เบตง เป็นพื้นที่หนึ่งในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่ถือว่าโอเค คือกลับมาอยู่ในความสงบปราศจากเหตุไม่ปลอดภัยได้เกือบ 3 ปีแล้ว
     
       ดังนั้นเมื่อโอกาสดีมาถึง “ตะลอนเที่ยว” จึงล่องใต้ไป 3 จังหวัดชายแดน ที่แม้ใครหลายคนจะหวั่นในสถานการณ์ และเสียงลือเล่าอ้างบวกข่าวที่โหมกระพือถึงความไม่ปลอดภัย แต่ในสภาพการณ์จริงชาวบ้านในพื้นที่เขาปรับตัวและใช้ชีวิตเหมือนปกติมานานแล้ว พวกเขารู้ว่าสถานที่ใดสมควรไป เวลาใดสมควรเดินทาง และจุดไหนควรหลีกเลี่ยง
     
       ทำให้ช่วงที่เราไปเยือน 3 จังหวัดชายแดนใต้นั้นปลอดภัยหายห่วง โดยในจังหวัดสุดท้ายที่ยะลานั้น จากตัวเมือง(ในเวลากลางวัน)เราเดินทางผ่านถนนแห่งขุนเขาสันการาคีรีไปตามทางหลวง 410 อันคดเคี้ยวเลี้ยวๆลด ขึ้นๆลงๆ ประมาณ 140 กม. สู่ อ.“เบตง” ดินแดนที่มีคำขวัญว่า “เมืองในหมอก ดอกไม้งาม ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน” 
“เบตง”...ทรงเสน่ห์ ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามกลางขุนเขา
ตู้ไปรษณีย์ยักษ์ส่งความคิดถึงได้ทุกเมื่อ
       โอเค...เบตง
       

       เบตง เป็นเมืองในแอ่งกระทะล้อมรอบด้วยขุนเขาน้อยใหญ่ ที่อยู่ห่างจากด่านชายแดนเบตง-มาเลเซียเพียง 7 กิโลเมตรเท่านั้น เบตงเป็นพื้นที่พิเศษ รถในเมืองนี้สามารถใช้ทะเบียนเบตงได้เลย โดยไม่ต้องใชทะเบียนจังหวัดยะลา
     
       ชื่อเบตงเป็นภาษามลายูหมายถึง“ไม้ไผ่” ในอดีตเมืองนี้มีไม้ไผ่มาก แต่ปัจจุบันในตัวเมืองมองหาต้นไผ่ไม่เห็นแล้ว มีแต่ไผ่ยักษ์จำลองซึ่งทางเทศบาลเมืองเบตงได้จัดสร้างไว้ที่สวนสาธารณะของเทศบาล
     
       ไหนๆก็พูดถึงความใหญ่ยักษ์แล้ว เบตงโด่งดังมากในเรื่องของตู้ไปรษณีย์ยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยตู้แรกต้นฉบับสุดคลาสสิคนั้น ตั้งอยู่ใจกลางเมือง มุมถนนสุขยางค์ บริเวณ 4 แยกหอนาฬิกา
     
       ไปรษณีย์ยักษ์ตู้นี้ มีอายุกว่า 80 ปี สูง 3.2 เมตร เหตุที่ทางเมืองนี้ทำตู้ไปรษณีย์สีแดงยักย์ประดับเมืองไว้ เพราะในอดีตการเดินทางติดต่อสื่อสารจากเบตงไปยังเมืองอื่นๆเป็นไปด้วยความยากลำบาก การส่งจดหมายสื่อสารถึงกันนับเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ทำให้นายสงวน จิระจินดา นายกเทศมนตรีตำบลเบตงในขณะนั้น ที่มีความผูกพันกับตู้ไปรษณีย์ไม่น้อยเนื่องจากเคยเป็นนายไปรษณีย์มาก่อน ได้จัดสร้างตู้ไปรษณีย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกขึ้นมา เพื่อเป็นสัญลักษณ์ทางการสื่อสารที่ท้ายที่สุดแล้วกลายเป็นสัญลักษณ์ของเมืองเบตงไปโดยปริยาย
     
       และด้วยความโดดเด่นของตู้ไปรษณีย์แห่งนี้ ทำให้ทางเทศบาลเมืองเบตงนำไปขยายผลด้วยการสร้างตู้ไปรษณีย์ยักษ์จำลองขึ้นใหญ่กว่าเดิมถึง 3.5 เท่า(ราว 9 เมตร) ตั้งตระหง่านโดดเด่นอยู่หน้าศาลาประชาคม
“เบตง”...ทรงเสน่ห์ ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามกลางขุนเขา
หอนาฬิกาเบตง แลนด์มาร์คสำคัญ
       อย่างไรก็ตามในเรื่องของความมีเสน่ห์และความคลาสสิคนั้น ตู้ไปรษณีย์ต้นฉบับกินขาด กลายเป็นหนึ่งในแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาส่งจดหมาย โปสการ์ด หรือมายืนแอ๊คท่าถ่ายรูปคู่กับตู้ไปรษณีย์ยักษ์แห่งนี้ได้เป็นอย่างดี
     
       นอกจากตู้ไปรษณีย์ยักษ์สุดคลาสิคแล้ว ใกล้ๆกันยังมีอีกหนึ่งความคลาสสิคตั้งตระหง่าน เป็นแลนด์มาร์คสำคัญของเมืองนั่นก็คือ “หอนาฬิกาเบตง”ที่เป็นสิ่งก่อสร้างเก่าแก่อยู่เคียงคู่กับเมืองเบตงมาช้านาน หอนาฬิกาแห่งนี้ สร้างเป็นสัญลักษณ์จุดศูนย์กลางของเมือง ณ บริเวณจุดตัดของถนนสุขยางค์กับถนนรัตนกิจ ด้วยหินอ่อนขาวนวลดูสง่าน่ามอง
“เบตง”...ทรงเสน่ห์ ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามกลางขุนเขา
สายไฟมีชีวิตด้วยนกนางแอ่นจำนวนมาก
       รอบๆหอนาฬิกาดูระโยงระยางไปด้วยสายไฟ ซึ่งในช่วงหัวค่ำสายไฟเหล่านี้จะเต็มไปด้วย สิ่งมีชีวิตเล็กๆที่เรียกว่า “นกนางแอ่น” เกาะบนสายไฟเต็มพรืดไปหมด
     
       นกนางแอ่นเหล่านี้หนีหนาวมาจากไซบีเรียมาอยู่เบตงในช่วงเดือนกันยายนถึงมีนาคม ยามหัวรุ่งพวกมันจะบินไปหาอาหารตามป่าเขา และกลับมาเกาะที่สายไฟในช่วงหัวค่ำเป็นอย่างนี้ทุกวัน กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนเบตง ซึ่งพวกเขาผูกพันและหวงแหนนกเหล่านี้ไม่น้อยเลย
     
       สาววัยรุ่นบางคนจากที่เราได้เห็นมา เธอมารอซื้อโรตีเจ้าอร่อยที่ข้างหอนาฬิกาใต้สายไฟในช่วงหัวค่ำ แล้วจู่อะไรก็หล่นปุ๊ลงมาให้เธออุทานว่า “ยี้ ขี้นกตกใส่หัว” ก่อนจะหัวเราะขบขันไม่มีการสบถด่าทอหรือขับไล่นกเหล่านั้นแต่อย่างใด ในขณะที่ชาวบ้านบางคนก็ยินดีที่จะบอกเล่าเรื่องราวของนกเหล่านี้เท่าที่เขารู้ให้กับนักท่องเที่ยวต่างถิ่นอย่าง“ตะลอนเที่ยว”ซึ่งกับเมืองท่องเที่ยวหลายแห่งการมีสายไฟระโยงระยางพาดผ่านสถาปัตยกรรมอันสวยงามดูจะเป็นการทำลายเสน่ห์ของเมือง แต่กับที่เบตงสายไฟเหล่านี้กลับกลายเป็นส่วนเสริมเสน่ห์ของเมืองให้มีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น
“เบตง”...ทรงเสน่ห์ ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามกลางขุนเขา
อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์มีแบ็คกราวน์เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองเบตง
       จากบริเวณ 4 แยกหอนาฬิกา หากเดินขึ้นไปตามความชันเล็กน้อยของถนนก็จะพบกับ “อุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์” อุโมงค์รถยนต์ลอดภูเขาแห่งแรกของเมืองไทย ที่ขุดทอดโค้งให้รถวิ่งไป-มา
     
       อุโมงค์แห่งนี้ดูคลาสิคกว่าสมัยใหม่เพราะด้านหลังของอุโมงค์(เมื่อมองจาก 4 แยกหอนาฬิกาเข้าไป)ตะหง่านเงื้อมสวยงามไปด้วย “พิพิธภัณฑ์เมืองเบตง”กับงานสถาปัตยกรรมท้องถิ่นประยุกต์หลังคาซ้อนหลายชั้น
“เบตง”...ทรงเสน่ห์ ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามกลางขุนเขา
ศิลปวัตถุที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เบตง
       ในพิพิธภัณฑ์ชั้นหนึ่งเก็บรวบรวมศิลปวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้ โบราณวัตถุ อาทิ ถ้วยชามเครื่องเคลือบ โต๊ะ ตู้ เตียง โบราณ ตะเกียงเก่า เรือสำเภาจำลอง กี่ทอผ้า อุปกรณ์ปั่นฝ้าย ส่วนชั้นสองจัดแสดงภาพเก่าเมืองเบตง และข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจในเมืองนี้
     
       พิพิธภัณฑ์เมืองเบตงยังมีความพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือ เป็นจุดชมวิวชั้นดีที่เมื่อขึ้นไปชั้นบนสุดมองลงมาจะเห็นตัวเมืองเบตงได้อย่างชัดเจน ในขณะที่ลานดาดฟ้าตึกหลังหนึ่งข้างๆพิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่เต้นแอโรบิกยามเย็นที่คึกคักไปด้วยลีลายักย้านส่ายส่วนต่างๆของร่างกายจากผู้คนในพื้นที่ ซึ่ง“ตะลอนเที่ยว” เห็นแล้วอดขยับแข้งขยับขาตามมาไม่ได้
“เบตง”...ทรงเสน่ห์ ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามกลางขุนเขา
ตัวเมืองเบตงยามโพล้เพล้
       เย็นในวันนั้น “ตะลอนเที่ยว” เดินตามบันไดวนขึ้นไปชมวิวเมืองเบตงยามโพล้เพล้บนพิพิธภัณฑ์ ก่อนกลับลงมาสัมผัสกับเบตงยามค่ำคืน
     
       หลังเกิดเหตุความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ความคึกคักในเมืองนี้ลดน้อยถอยลงไปพอสมควร แต่กระนั้นเบตงราตรีก็มีสีสันยามย่ำคืนให้สัมผัสกันตามอัตภาพ โดยคล้อยหลังจากตะวันตกดินไปได้ไม่นาน บรรดาผีเสื้อราตรีต่างก็ออกหากิน
     
       ผีเสื้อเหล่านี้บินไม่ได้ เพราะไม่มีปีก มีแต่ความขาวอวบและความล้นเฉพาะพื้นที่ในบางคน ชนิดที่มันดันออกมาแข่งกับภูเขาน้อยใหญ่ที่โอบล้อมตัวเมืองเบตงอย่างไม่กริ่งเกรง
     
       หลังจากเราเห็นภูเขาของผีเสื้อราตรีแบบเตะตาอย่างไม่ตั้งใจในยามค่ำคืน เช้าวันรุ่งขึ้น“ตะลอนเที่ยว” ตื่นแต่เช้าตรู่ ขึ้นไปบนดาดฟ้าของที่พักโรงแรมแมนดาริน อาคารสูงที่สุดในเบตงเพื่อชมทิวทัศน์ของภูเขาของจริงที่ทอดตัวเรียงรายโอบล้อมตัวเมืองนี้ ท่ามกลางสายหมอกบางๆที่ลอยเอื่อยมาทักทาย
“เบตง”...ทรงเสน่ห์ ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามกลางขุนเขา
เจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ วัดพุทธาธิวาส
       จากด้านตัวเมืองหนาแน่น มองไปทางขวาเห็น “พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ”แห่งวัดพุทธาธิวาส ตั้งตระหง่านโดดเด่นท่ามกลางแบ็คกราวน์ภูเขาน้อยใหญ่
     
       “วัดพุทธาธิวาส” เดิมชื่อ“วัดเบตง” ซึ่ง“ตะลอนเที่ยว”เพิ่งไปกราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวัดมาเมื่อบ่ายวันวานในทันทีที่มาถึงเมืองนี้เพื่อความเป็นสิริมงคล เพราะได้ยินถึงกิตติศัพท์ในความเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองเบตงมาช้านาน
     
       ในวัดมีเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ ที่หมายถึงการประกาศธรรมของพระพุทธเจ้า ตั้งเด่นเป็นสง่าด้วยศิลปะศรีวิชัยอันสวยงามสมส่วน ภายในเจดีย์ชั้นบนสุดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า และมีพระพุทธธรรมประกาศเป็นพระประทาน มีรอยพระพุทธบาทขนาดใหญ่อยู่ที่ชั้นล่าง
“เบตง”...ทรงเสน่ห์ ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามกลางขุนเขา
สีสันตลาดสดเทศบาลเบตงยามเช้า
       ในขณะที่สิ่งน่าสนใจอื่นๆในวัดแห่งนี้ก็มีพระพุทธธรรมกายมงคลปยุรเกศานนท์สุพนิพานองค์โตให้สักการะ และวิหารหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
     
       กลับมาต่ออารมณ์ยามเช้ากันต่อ หลังอิ่มตากับการชมวิวยามเช้าแล้ว เราออกจากโรงแรมเดินท่อมๆไปเติมความอิ่มท้องด้วยการหม่ำโจ๊กกบ(ภูเขา)ร้อนๆ
     
       สำหรับอาหารเบตงถือเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ที่ใครมาเยือนไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง โดยอาหารขึ้นชื่อ ก็มี ไก่สับเบตงจากเนื้อไก่เบตงอันนุ่มแน่น เคาหยกที่ทำจากหมู 3 ชั้นกับเผือก กบภูเขา ปลาจีนนึ่งบ๊วย ผักน้ำ หมี่เบตง และของหวานอย่างเฉาก๊วย
     
       หลังกินโจ๊กกบเติมพลัง เรามุ่งหน้าไปยังตลาดสดเทศบาล ที่ยามเช้าคึกคักไปด้วยบรรยากาศการซื้อขายจากสินค้าอีนหลากหลาย และทหารยืนยามเฝ้ารักษาความปลอดภัย ที่แม้ว่าวันนี้จะโอเคที่เบตง แต่การไม่ประมาทป้องกันไว้ก่อนย่อมดีกว่าการล้อมคอกในภายหลัง
“เบตง”...ทรงเสน่ห์ ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามกลางขุนเขา
โครงการไม้ดอกเมืองหนาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
       ใต้ที่คล้ายเหนือ 
     
       นอกจากในตัวเมืองแล้ว นอกเมืองเบตงก็มากไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเส้นทางไต่เลาะขุนเขา วงรอบ โครงการไม้ดอกเมืองหนาว-อุโมงค์ปิยะมิตร-บ่อน้ำร้อน
     
       ใน“โครงการไม้ดอกเมืองหนาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ยะลา”จุดแรกที่เราไปเยือนนั้น ไม่น่าเชื่อว่าสภาพพื้นที่จะมีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปีและมีบรรยากาศคล้ายสวนดอกไม้ในดอยสูงทางภาคเหนือ
     
       โครงการนี้สร้างตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้วยความร่วมมือของจังหวัดยะลากับศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ สำนักงาน กปร. เป็นผู้ผลักดันอีกแรง
“เบตง”...ทรงเสน่ห์ ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามกลางขุนเขา
ดอกไม้งามในโครงการไม้ดอกเมืองหนาว
       “โครงการไม้ดอกเมืองหนาว ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่ามีเฉพาะในเขตภาคเหนือเท่านั้น แต่สำหรับอำเภอเบตง พื้นที่ใต้สุดของประเทศมีภูเขาล้อมรอบ อากาศเย็นตลอดทั้งปี เหมาะกับการปลูกพืชเมืองหนาวเป็นอย่างยิ่ง” คุณเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ เลขาธิการ สำนักงาน กปร.ให้ข้อมูลกับเรา
     
       สำหรับโครงการไม้ดอกเมืองหนาว เป็นการศึกษาทดลองปลูกไม้ดอกเมืองหนาวต่างๆ อาทิ เบญจมาศ กุหลาบ เยอบีรา หน้าวัว ไฮเดนเยีย ดาวเรือง ทานตะวัน ซัลเวีย นอกจากนี้ทางโครงการยังนำร่อง ขยายผล และเป็นต้นแบบให้ชาวบ้านในพื้นที่เพาะปลูกพืชเมืองหนาวขาย
“เบตง”...ทรงเสน่ห์ ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามกลางขุนเขา
สวนไม้ดอกเมืองหนาวของชาวบ้าน
       นั่นจึงทำให้ชาวบ้านในหมู่บ้านปิยะมิตรจำนวนหนึ่งรวมกลุ่มกันปลูกพืชเมืองหนาวส่งขายในพื้นที่ภาคใต้ สร้างรายได้เลี้ยงตัวแบบพอเพียงได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปทำงานต่างถิ่น
     
       ไม่เพียงเท่านั้นชาวบ้านกลุ่มนี้ยังเรียนรู้ นำต้นแบบจากโครงการไม้ดอกเมืองหนาวมาจัดสร้าง เป็น“สวนไม้ดอกเมืองหนาว” ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆกับโครงการไม้ดอกเมืองหนาวชนิดเดินไปมาหาสู่กันได้
     
       สวนไม้ดอกเมืองหนาว ถือเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจของเบตง มีการจัดสวนตกแต่งด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ยืนต้น ก้อนหิน สระน้ำ และองค์ประกอบอื่นๆอย่างสวยงาม
     
       นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารของชุมชนขายของที่ระลึก และขายอาหารเมนูเด็ดของเบตง ตามที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น นับเป็นการเดินตามรอยพ่อที่เห็นประสบผลสำเร็จอย่างชัดเจน
“เบตง”...ทรงเสน่ห์ ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามกลางขุนเขา
ซุ้มประตูทางเข้าอุโมงค์ปิยะมิตร
       จากสวนไม้ดอกเมืองหนาว เดินทางต่อไปในถนนสายเดิมจะพบกับที่ตั้งของ “อุโมงค์ปิยะมิตร”หรือ“อุโมงค์เบตง” ที่มีลักษณะรูปแบบคนละเรื่องกับอุโมงค์เบตงมงคลฤทธิ์ในตัวเมืองเลย
     
       อุโมงค์ปิยะมิตร สร้างโดยกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์มาลายา ในปี พ.ศ. 2519 เพื่อใช้เป็นฐานปฏิบัติการของมาชิกพรรคฯ เป็นอุโมงค์มีความกว้างพอคนเดินได้ ยาวประมาณ 1 กิโลเมตร คล้ายๆกับอุโมงค์ “กู๋จี” ของพวกนักรบเวียดกงที่โฮจิมินห์
“เบตง”...ทรงเสน่ห์ ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามกลางขุนเขา
นั่งแช่น้ำพุร้อน ผ่อนคลาย สบายเท้า
       ปัจจุบันอุโมงค์มีรอยอดีตทิ้งไว้ให้นักท่องเที่ยวได้ทัศนา อาทิ ห้องนอนเตียงดินเหนียว อุปกรณ์การสู้รบ เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ รวมถึงห้องบัญชาการรบที่จุคนได้มากถึง 200 คน
     
       หลังเสร็จสิ้นการเที่ยวอุโมงค์เราเดินทางต่อไปปิดท้ายเส้นทางวงรอบกันที่ “บ่อน้ำพุร้อน” ต.ตาเนาะแมเราะ ที่บ่อใหญ่มีความร้อนชนิดผู้ชายหลายคนกลัวเพราะ“ต้มไข่สุก”ภายในเวลาแค่ 7 นาที ในขณะที่บ่อเล็กได้มีการขุดทอนความร้อนของสายน้ำให้เราๆท่านๆ สามารถนั่งเอาเท้าแช่น้ำกันได้แบบร้อนพอสมควรแต่ไม่ถึงกับต้มไข่สุก
“เบตง”...ทรงเสน่ห์ ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามกลางขุนเขา
สองสาวเบตงขึ้นมาชมวิวในชั้นบนของพิพิธภัณฑ์
       จากน้ำพุร้อน เราเดินทางย้อนกลับเข้าสู่ตัวเมืองเบตงอีกครั้ง ก่อนจะล่ำลาจากเมืองนี้ด้วยความรู้สึกเสียดาย และเห็นใจชาวเบตงที่ต้องพลอยฟ้าพลอยฝนกับเหตุการณ์ความไม่สงบ ทั้งๆที่สถานการณ์เมืองนี้โอเคมานานแล้ว


ที่มา http://www.manager.co.th