"ประเพณี และ วัฒนธรรมเมืองเบตง"
ซือดะบาเยาะ "ข้าวหลามเบตง" หนึ่งในอัตลักษณ์ที่สำคัญของ "มุสลิมเบตง"
เพื่อให้สอดคล้องกับช่วงเทศกาลฮารีรายอ อีดิ้ลฟิตริ การนำเสนอเรื่อง "ปูโล๊ะลือแมเบตง" จึงเป็นเรื่องที่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง เพราะ เป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ที่สำคัญของ "มุสลิมเบตง" แต่สำหรับชาวอำเภอเบตง จังหวัดยะลานั้น แตกต่างจากที่อื่นๆ อาจเพราะภูมิประเทศ ทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ รวมไปถึงความห่างไกลจากพื้นที่อื่นๆ คนมุสลิมที่นี่ จึงมีเมนูที่เป็นแบบฉบับเฉพาะของตนเอง คือ "ปูโล๊ะลือแม" ตามภาษาถิ่น หรือ "ข้าวหลามไผ่ตง" "ข้าวหลาม"บาซูก้า" ที่วัยรุ่นเขาเรียกกัน การจะหุง หรือ ย่างข้าวเหนียวในกระบอกไผ่ตง ที่ยาวกว่า 70 - 80 เซ็นติเมตร ภายในกระบอกเดียว ทานได้ทั้งครอบครัว จึงไม่ใช่เรื่องปกติหากไม่ใช่ คนเบตง
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นห่มพระมหาธาตุเจดีย์ถวายเป็นพระราชกุศล
การแห่ผ้าขึ้นพระธาตุห่มพระมหาเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ เทศบาลเมืองเบตงได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเป็นการสืบสานประเพณีและถวาย เป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระน
างเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ของทุกปี โดยพระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ เป็นเจดีย์ศิลปะศรีวิชัยประยุกต์ที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ มีขนาดความกว้าง 39 เมตร สูง 39.9 เมตร จัดสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2555 โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเจิมพระบรมสารีริกธาตุ และบรรจุในเจดีย์ รวมทั้งทรงทำพิธียกยอดฉัตรทองคำขึ้นประดิษฐานบนยอดองค์พระมหาธาตุด้วยประเพณีถศีลกินเจ ไทย-มาเลเซีย
ในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ เป็นวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามปฏิบัติสืบเนื่องกันมายาวนาน โดยเน้นการอนุรักษ์ความเป็นวิถีชีวิตและวัฒนธรรมดั้งเดิม ในเรื่องของอาหาร และการแต่งกาย
ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวจากประเทศ มาเลเซีย และสิงค์โปร์ เดินทางเข้ามาในอำเภอเบตงเป็นจำนวนมาก
ประเพณีชักพระเป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวใต้ ซึ่งเป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับ วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ซึ่งเชื่อกันว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนจึงมารอรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธ เจ้าขึ้นประทับบน บุษบกแล้วแห่ไปรอบเมือง
เรือพระ คือ รถหรือล้อเลื่อนที่ประดับตกแต่งให้เป็นรูปเรือแล้ววางบุษบก ซึ่งภาษาพื้นเมืองของภาคใต้เรียกว่า "นม" หรือ "นมพระ" ยอดบุษบก เรียกว่า "ยอดนม" ใช้สำหรับอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานแล้วลากในวันออกพรรษา ลากพระทางน้ำ เรียกว่า "เรือพระน้ำ" ส่วนลากพระทางบก เรียกว่า "เรือพระบก" สมัยก่อนจะทำเป็นรูปเรือ ให้คล้ายเรือจริง ๆ และต้องทำให้มีน้ำหนักน้อยที่สุด จึงใช้ไม้ไผ่สานมาตกแต่งส่วนที่เป็นแคมเรือและหัวท้ายเรือคงทำให้แน่นหนา
ทางด้านหัวและท้ายทำงอนคล้ายหัวและท้ายเรือ แล้วตกแต่งเป็นรูปพญานาค ใช้กระดาษสีเงินสีทองทำเป็นเกล็ดนาค กลางลำตัวพญานาคทำเป็นร้านสูงราว 1.50 เมตร เรียกว่า "ร้านม้า" ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ บุษบก ซึ่งแต่ละที่จะมีเทคนิคการออกแบบบุษบก มีการประดิษประดอยอย่างมาก หลังคาบุษบกนิยมทำเป็นรูปจตุรมุข ตกแต่งด้วยหางหงส์ ช่อฟ้า ใบระกา และทุกครอบครัวต้องเตรียม "แทงต้ม" เตรียมหาในกระพ้อ และข้าวสารข้าวเหนียวเพื่อนำไปทำขนมต้ม "แขวนเรือพระ"
ที่มา https://sites.google.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น